คำจำกัดความของ “บรรจุภัณฑ์” คือการนำวัสดุชนิดใดชนิดหนึ่งมาใช้เป็นภาชนะเพื่อหีบห่อสิ่งของภายใน โดยมีวัตถุประสงค์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความปลอดภัยต่อ การคงคุณภาพของสินค้า ความสวยงาม รวมไปถึงความสะดวกในการใช้งานสินค้าด้วยเช่นกัน ซึ่งในธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารบรรจุภัณฑ์ชนิด Food Packaging ถือเป็นตัวช่วยสำคัญที่จะทำให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงสินค้าของพวกเขาได้ วันนี้ Flexi-Pack จะมาแนะนำให้คุณได้รู้จักกับบรรจุภัณฑ์อาหารหรือ Food Packaging ว่าคืออะไร ใช้วัสดุอะไรได้บ้าง และมีมาตรฐานอะไรที่เจ้าของธุรกิจอาหารควรให้ความสำคัญ
บรรจุภัณฑ์อาหารหรือ Food Packaging คืออะไร
บรรจุภัณฑ์อาหารหรือ Food Packaging คือ บรรจุภัณฑ์ชนิดหนึ่งที่ได้รับการคิดค้นและพัฒนาขึ้นมาเพื่อรองรับสินค้าประเภทอาหารโดยเฉพาะไม่ว่าจะเป็น วัตถุดิบอาหาร อาหารสดประเภทเนื้อสัตว์ ผักผลไม้ และอาหารแปรรูป โดยสิ่งสำคัญของบรรจุภัณฑ์ Food Packaging นั้นจะต้องมีความสะอาดปราศจากสารปนเปื้อนที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์มากที่สุด
หน้าที่หลักและประโยชน์ของบรรจุภัณฑ์ Food Packaging
คุณสมบัติหน้าที่หลักของบรรจุภัณฑ์ Food Packaging นั้นมีมากกว่าการหีบห่อสินค้าประเภทอาหารเอาไว้ข้างใน เพราะบรรจุภัณฑ์ที่ดีนั้นจะต้องมีความสะอาดบริสุทธิ์ เพราะเป็นสินค้าที่ผู้บริโภคนำไปใช้รับประทานทำให้ผู้ผลิตต้องคำนึงเรื่องความสะอาดและความปลอดภัยเป็นอันดับหนึ่ง ซึ่งเป็นบรรทัดฐานสำคัญทำให้เกิดเป็นคุณสมบัติอื่นๆ ดังต่อไปนี้
1. ปกป้องสินค้าหรือผลิตภัณฑ์อาหารที่อยู่ภายใน
การปกป้องสินค้าของบรรจุภัณฑ์ประเภทนี้นั้นจะต้องครอบคลุมทั้งการคงคุณค่าทางสารอาหาร การรักษาคุณภาพของสินค้าจากสภาพอากาศภายนอก ป้องกันสิ่งแปลกปลอมอย่างฝุ่นละออง สารปนเปื้อน แมลง เป็นต้น เพื่อให้สินค้าอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานทั้งการเปิดรับประทานได้ทันที และนำไปแปรรูปเป็นเมนูอาหาร
2. สะดวกต่อการขนส่งและจัดเก็บ
บรรจุภัณฑ์ Food Packaging ที่ดีจะต้องเอื้ออำนวยต่อการขนส่งสินค้าเป็นอย่างมาก เพราะสินค้าหรืออาหารแต่ละชนิดล้วนมีข้อจำกัดในการเก็บรักษาที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งเจ้าของธุรกิจจะต้องทำการออกแบบตัวบรรจุภัณฑ์และกำหนดสเปกของวัสดุให้สอดคล้องกับตัวสินค้ามากที่สุด เพื่อให้การขนส่งและการจัดเก็บสามารถทำได้อย่างเต็มที่โดยไม่กระทบต่อคุณภาพของสินค้า
3. สามารถทำการตลาดผ่านบรรจุภัณฑ์ได้
นอกจากเรื่องการจัดเก็บและปกป้องสินค้าแล้ว บรรจุภัณฑ์ยังเป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้ทำการตลาดได้เป็นอย่างดี เพราะสิ่งแรกที่ผู้บริโภคจะได้เห็นก่อนสินค้าตัวจริงก็คือบรรจุภัณฑ์นั่นเอง ยิ่งรูปลักษณ์ภายนอกมีความน่าสนใจ และการติดฉลากสินค้าที่มีข้อมูลครบถ้วนชัดเจน ปัจจัยทั้งสองสามารถช่วยส่งเสริมให้มีความน่าสนใจแก่ผู้บริโภคและช่วยให้ตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น
วัสดุของบรรจุภัณฑ์ Food Packaging ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน
ในวงการทำบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหาร ได้มีการนำวัสดุหลากหลายประเภทมาใช้ผลิต โดยในแต่ละประเภทก็จะมีทั้งข้อดี ข้อเสีย ข้อจำกัดในการใช้งาน และตอบสนองต่อการใช้งานกับสินค้าที่มีรูปลักษณ์แตกต่างกันออกไป ซึ่งวัสดุทั้งหมดมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. วัสดุพลาสติก
พลาสติก คือ หนึ่งในวัสดุที่นิยมนำมาทำเป็นบรรจุภัณฑ์ Food Packaging มากที่สุด เพราะมีคุณสมบัติการใช้งานที่ทนทาน พลาสติกบางชนิดสามารถทนความร้อนได้สูง มีเนื้อวัสดุที่หนาแน่นไม่ทำให้อากาศและความชื้นไหลผ่านได้ซึ่งเป็นสาเหตุให้อาหารเสื่อมคุณภาพลงได้ นอกจากนี้พลาสติกยังมีน้ำหนักเบา และสามารถนำไปผลิตตามรูปร่างและลวดลายที่ต้องการได้ ตัวอย่างของ Plastic for food packaging ที่นิยมนำมาผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์ เช่น โพลีเอทิลีนเทอพาทาเลท, โพลีเอทิลีน, โพลีไวนิลคลอไรด์, โพลีโพรพิลีน, โพลีสไตรีน เป็นต้น ด้วยความหลากหลายของชนิดพลาสติกจึงทำให้เป็นวัสดุที่นิยมใช้งานเป็นอันดับต้นๆ ของวงการ
2. วัสดุกระดาษ
กระดาษ เป็นวัสดุทางเลือกที่ค่อนข้างใหม่ในปัจจุบัน โดยเริ่มต้นมาจากการใส่ใจในเรื่องของกระบวนการย่อยสลายของวัสดุเหล่านี้ เพราะอย่างที่ทุกคนเข้าใจเกี่ยวกับพลาสติกว่ามีกระบวนการย่อยสลายทางธรรมชาติที่นานกว่า และอาจส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมได้ในอนาคต จึงทำให้กระดาษถูกหยิบยกมาเป็นบรรจุภัณฑ์ทางเลือกใหม่ที่ไม่ต้องกังวลเรื่องการย่อยสลาย และนำไปรีไซเคิลก็ได้ด้วยเช่นกัน ส่วนในแง่ของคุณสมบัติในการบรรจุอาหารนับว่าทำได้ในระดับหนึ่ง แต่อาจจะยังไม่ทนทานหรือใช้งานได้ไม่หลากหลายเท่าพลาสติก
3. วัสดุแก้ว
แก้ว เป็นอีกวัสดุที่ได้รับความนิยมมาอย่างยาวนาน เพราะเป็นวัสดุที่มีความสวยงามดูมีความหรูหราและพรีเมียม เหมาะสำหรับผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องดื่ม อาหารแปรรูป และขนมขบเคี้ยว เป็นต้น แก้วสามารถนำไปใช้งานซ้ำได้หลายครั้ง โดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค แต่ข้อเสียของบรรจุภัณฑ์ประเภทนี้คือเรื่องของความเปราะบาง เมื่อเกิดการกระแทกหรือตกหล่นจะแตกได้ในทันที มีความไม่ยืดหยุ่นเท่ากันวัสดุประเภทพลาสติกและกระดาษและมีต้นทุนการผลิตที่สูงกว่าอีกด้วย
4. วัสดุโลหะ
สุดท้ายกับวัสดุประเภทโลหะ เป็นบรรจุภัณฑ์ Food Packaging ที่มีความแข็งแรงทนทานต่อการถูกกัดกร่อนเพราะมีการปรับแต่งตัวโลหะให้ทนทานต่อสึกกร่อนจากออกซิเจนและสารเคมีบางชนิด มีอายุการใช้งานยาวนาน ได้รับความนิยมในการบรรจุสินค้าประเภทน้ำอัดลม อาหารแปรรูปบางประเภท สามารถนำไปรีไซเคิลได้
มาตรฐานการรับรองของบรรจุภัณฑ์ Food Packaging ที่ต้องให้ความสำคัญ
เพื่อมอบความไว้วางใจแก่ผู้บริโภค ตัวบรรจุภัณฑ์ Food Packaging ทุกชนิดจำเป็นต้องผ่านมาตรฐานการรับรองจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนอย่าง GMP (Good Manufacturing Practice) ที่คอยควบคุมกระบวนการจัดการและสุขลักษณะภายในโรงงานอุตสาหกรรม และ HACCP (Hazard Analysis and Critical Control Point System) ที่คอยจัดการระบบความปลอดภัยของอาหาร โดยใช้การควบคุมจุดวิกฤติที่ต้องควบคุม (CCP) ของการผลิต เพื่อการันตีว่าผู้บริโภคจะได้รับความปลอดภัยในการใช้งานทั้งในแง่ของความสะอาดของอาหารและปราศจากสารปนเปื้อนใดๆ
สรุปเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ Food Packaging
บรรจุภัณฑ์ Food Packaging คือโซลูชันที่สำคัญสำหรับธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารมากที่สุด เพราะเป็นทางเดียวที่เจ้าของธุรกิจสามารถส่งต่อผลิตภัณฑ์หรือสินค้าไปยังผู้บริโภคได้ในสภาพสมบูรณ์ และคงคุณค่าโภชนาการเอาไว้อย่างครบถ้วน ดังนั้นในการคัดสรรวัตถุดิบอย่าง Plastic for food packaging และวัสดุอื่นที่เหมาะสม การออกแบบตัวบรรจุภัณฑ์ให้สอดคล้องกับผลิตภัณฑ์ และมาตรฐานการรับรองของตัวบรรจุภัณฑ์ คือเรื่องที่เจ้าของธุรกิจต้องทำการบ้านอย่างหนัก
สำหรับเจ้าของธุรกิจท่านใดที่กำลังมองหาผู้ให้บริการโซลูชันบรรจุภัณฑ์ และสินค้านวัตกรรมที่ตอบสนองต่อความต้องการของคุณ Flexi-Pack ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ชั้นนำของไทยพร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมของคุณให้เติบโตด้วยสินค้าบรรจุภัณฑ์นานาชนิด พร้อมการดูแลและคำปรึกษาตลอดการรับบริการ เพื่อให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างมั่นคง